วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556



              การเข้าเรียนครั้งที่ 16

                บันทึกอนุทิน
           วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
           อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  เเจ่มถิน
           วันเดือนปี  27  กันยายน  2556
           ครั้งที่ 16    เวลาเรียน  08.30 - 12.220 น.
           เวลาเข้าสอน  08.30 น.        เวลาเข้าเรียน  08.30 น.      เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

           ความรู้ที่ได้รับ
         
           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปความรู้ที่ได้รับจากวิชานี้ โดยสรุปเป็น mind mapping ในความคิดของตนเอง

           


*** ช่วงท้ายคาบเรียนอาจารย์ได้เเนะเเนวข้อสอบ เเละปิดคอร์ส ***






            การเข้าเรียนครั้งที่ 15

                บันทึกอนุทิน
           วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
           อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  เเจ่มถิน
           วันเดือนปี  20  กันยายน  2556
           ครั้งที่ 15    เวลาเรียน  08.30 - 12.220 น.
           เวลาเข้าสอน  08.30 น.        เวลาเข้าเรียน  08.30 น.         เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
           
           ความรู้ที่ได้รับ

           *** วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียน เนื่องด้วยวันนี้ฝนตกอย่างรุนเเรงทำให้ไม่สามารถไปเรียนได้ ***

                  



 



              การเข้าเรียนครั้งที่ 14
               
                     บันทึกอนุทิน
             วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
             อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  เเจ่มถิน
             วันเดือนปี  13  กันยายน  2556 
             ครั้งที่ 14    เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
             เวลาเข้าสอน  08.30 น.      เวลาเข้าเรียน  08.30 น.       เวลาเลิกเรียน   12.20 น.
             
             ความรู้ที่ได้รับ

              วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเเบ่งกลุ่มกันช่วยระดมความคิดว่าเราจะเลือกศูนย์อะไรให้เด็กเล่นเเละในศูนย์นั้นอยากให้มีอะไรบ้าง โดยกลุ่มของดิฉันทำเรื่อง บทบาทสมมติ เพื่องส่งเสริมให้เด็กมีการพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ โดยในศูนย์บทบาทสมมติของกลุ่มดิฉัน ประกอบไปด้วย
                 
              - มุมชาวนา     เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวนาว่าเป็นอย่างไร เด็กจะได้เห็นคุณค่าของอาชีพชาวนาที่สร้างเมล็ดข้าวให้ผู้คนทั้งโลกได้รับประทาน
             -  มุมคุณครู     เพื่อให้เด็กได้เเสดงบทบาทของครูในความคิดของเด็กๆเอง
             -  มุมคุณหมอ  เพื่อให้เด็กๆได้เเสดงบทบาทของคุณหมอ ซึ่งมีอุปกรณ์ต่างๆที่คุณหมอต้องใช้ในการรักษาผู้ป่วย 
             -  มุมทหาร       เพื่อให้เด็กได้เเสดงบทบาทสมมติของทหาร เด็กๆจะได้ชื่นชอบเเละภูมิใจในอาชีพนี้ที่เปรียบเหมือนรั้วของประเทศชาติ

             


*** ผลงานของกลุ่มดิฉัน '' ศูนย์บทบาทสมมติ " ***


         การเข้าเรียนครั้งที่ 13 

               บันทึกอนุทิน
        วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  เเจ่มถิน
        วันเดือนปี  6 กันยายน 2556 
        ครั้งที่ 13  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
        เวลาเข้าสอน 08.30 น.           เวลาเข้าเรียน  08.30 น.        เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

        ความรู้ที่ได้รับ

        การจัดสภาพเเวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษาโดยจัดสภาพเเวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับภาษาอย่างมีความหมายเเละเป็นองค์รวม เน้นให้เด็กทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านภาษาโดยที่ไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา


        มุมจัดประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้เเละทักษะทางภาษา

  • มุมหนังสือ  ต้องมีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย มีบรรยากาศที่สงบ มีอุปกรณ์สำหรับการขีดเขียน 
  • มุมบทบาทสมมติ  มีอุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเล่นได้ มีอุปกรณ์ที่หลากหลาย มีพื้นที่เพียงพอให้เด็กได้เล่น
  • มุมศิลปะ  จัดอุปกรณ์ที่หลากหลายสำหรับการขีดเขียน วาดรูป  มีอุปกรณ์สำหรับงานตัดและงานปะติด
  • มุมดนตรี  มีเครื่องดนตรีที่หลากหลายทั้งของจริงเเละของเล่น 
        หลังจากที่เรียนเนื้อหาเสร็จเเล้วอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาคัดลายมือ เพราะการเป็นครูปฐมวัยต้องเขียนให้เด็กดู เเละเด็กก็จะเลียนเเบบลายมือที่เขาได้เห็น ดังนั้นครูควรเขียนให้อ่านง่ายเเละสวยงาม 
            
                          


                                                              *** ผลงานของฉัน ***





 








             การเข้าเรียน ครั้งที่ 12
       
                  บันทึกอนุทิน  
           วิชา  การจัดประสบกบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
           อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  เเจ่มถิน
           วันเดือนปี 30 สิงหาคม 2556
           ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
           เวลาเข้าสอน 08.30 น.         เวลาเข้าเรียน 08.30 น.          เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

           ความรู้ที่ได้รับ

                ***  วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียน เนื่องด้วยดิฉันลากิจไปทำธุระที่ต่างจังหวัด  ***




               การเข้าเรียนครั้งที่ 11

                         บันทึกอนุทิน
         วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
         อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
         วันเดือนปี  23  สิงหาคม 2556
         ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
         เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
        

           ความรู้ที่ได้รับ

         เด็กได้รับคำศัพท์  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้เขานำคำศัพท์เหล่านี้ไปสื่อสารได้

         สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
             
         สื่อ คือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆที่กระตุ้นส่งเสริมให้เกิดความสนใจ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา

         ประเภทของสื่อการสอน

         สื่อสิ่งพิมพ์  คือ  สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์ เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร  การใช้คำ ประโยค
         สื่อวัสดุ อุปกรณ์  คือ   สิ่งของต่างๆ ที่เป็นของจริง หรือ หุ่นจำลอง
         สื่อโสตทัศนูปกรณ์  คือ  สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
         สื่อกิจกรรม  คือ  วิธีการใช้ในการปฏิบัติ  
         สื่อบริบท  คือ  สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ สภพเเวดล้อมต่างๆในห้องเรียน

                                                        ***วันนี้อาจารย์ให้ทำ PoP - Up ในห้องคนละหนึ่งชิ้น***
         
                                                                                          
          

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556



         การเข้าเรียนครั้งที่ 10

                         บันทึกอนุทิน
         วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
         อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
         วันเดือนปี  16 สิงหาคม 2556
         ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
         เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

         ความรู้ที่ได้รับ

         ภาพ Pop-Up รูปกบ  ฝึกให้เด็กมีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์  สามารถใช้ในการเล่านิทานได้ และได้รวมผสมเรื่องของอาเซียนลงไปด้วยฝึกให้เด็กได้รู้จักภาษา คำทักทายของประเทศต่างๆ


                                         

                            ผลงานของฉัน : รูปกบ ประเทศอินโดนีเซีย / คำทักทาย : ซาลามัต เซียง


                                                     ชิ้นนี้เป็นผลงานของเพื่อนๆกลุ่มอื่น
                                     






ส่วนภาพนี้คือผลงานของเพื่อนในกลุ่ม


    

           





วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556


          การเข้าเรียนครั้งที่ 9

                         บันทึกอนุทิน
         วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
         อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
         วันเดือนปี  9 สิงหาคม 2556
         ครั้งที่ 9  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
         เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

         
         ความรู้ที่ได้รับ
  
         วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนในห้องช่วยกันเเต่งนิทาน 1 เรื่อง โดยเมื่อเเต่งเสร็จเเล้วก็ให้แบ่งกลุ่มกันวาดรูปแต่ละฉากแต่ละตอน โดยจะจัดทำเป็นหนังสือเล่มใหญ่ (Big Books) ซึ่งนิทานที่พวกเราช่วยกันเเต่งมีชื่อเรื่องว่า ลูกหมูเเสนซน หน้าที่ที่รับผิดชอบของกลุ่มดิฉันคือวาดฉากที่ลูกหมูที่เหลือสี่ตัวรีบวิ่งกลับบ้านไปบอกพ่อเเม่

                                             





           จากกิจกรรมนี้ทำให้เราได้ช่วยกันระดมความคิดสร้างสรรค์ในการเเต่งนิทาน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่มเเละรู้จักหน้าที่ของตนเองว่าจะต้องทำอะไรบ้าง

           ประโยชน์/การนำไปใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดทำเป็นหนังสือนิทานให้เด็กได้เรียนรู้
  • สามารถนำไปฝึกทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยให้เด็กช่วยกันเเต่งเป็นนิทาน
  • สามารถฝึกทักษะทางสังคมของเด็กได้ไปในตัวในการทำงานเป็นกลุ่ม

           

             

     การเข้าเรียนครั้งที่ 8                                                                                                          
                
                   บันทึกอนุทิน 
      วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
      อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ    แจ่มถิน
      วันเดือนปี  2 สิงหาคม 2556
      ครั้งที่ 8   เวลาเรียน 08.30-12.20 น.  
      เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
      
     
      ความรู้ที่ได้รับในวันนี้    
   
            ***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นสัปดาห์สอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย***

                      


วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556


   การเข้าเรียนครั้งที่ 7
 
              บันทึกอนุทิน
    วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
    วันเดือนปี  26  กรกฎาคม 2556
    ครั้งที่ 7  เวลาเรียน  08.30-12-20 น.
    เวลาเข้าสอน 08.30 น.   เวลาเข้าเรียน 08.30 น.  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
   
              ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

     วันนี้อาจารย์มอบหมายงานให้ทำโดยวาดรูปอะไรก็ได้ที่อยากวาด แล้วให้นำเสนอและเล่าเป็นนิทานที่ต่อเนื่องกัน เเสดงให้เห็นถึงจินตนาการของเเต่ละคนว่าสามารถเเก้ปัญหาได้อย่างไร  เปรียบได้กับเด็กที่จินตนาการของเด็กไม่มีที่สิ้นสุดทุกสิ่งล้วนมีชีวิต การประเมินเด็กไม่ควรเปรียบเทียบความสามารถของเด็ก ควรประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
           
               การนำไปใช้

       สามารถนำไปปรับใช้ในการประเมินพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก


                         

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



            การเข้าเรียนครั้งที่ 6

                 บันทึกอนุทิน
           วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
           อาจารย์ผู้สอน  อาจรย์ตฤณ   แจ่มถิน
           วันเดือนปี   19 กรกฎาคม 2556
           ครั้งที่ 6        เวลาเรียน  08.30-12-20 น.
           เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

           ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

           เเนงทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

           การจัดประสบการณ์ทางภาษาเน้นทักษะภาษา

  •  ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
  • การประสมคำ
  • ความหมายของคำ
  • นำคำมาประกอบเป็นประโยค
  • การแจกลูกสะกดคำ  การเขียน
                  การแจกลูก

         กู   งู   ดู   หู   รู   ปู   ถู   ปู    คู   ทู   มู   ชู   
         รูปู   ถูหู   ดูงู   ถูขา   ดูกา   มาดู   ปูนา   ปลาทู
  • ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
  • ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                 Kenneth  Goodman
     
      -  เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
      -  มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
      -  แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

                ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
 
      -  สนใจอยากรู้ อยากเห็นสิ่งรอบตัว
      -  ช่างสงสัย ช่างซักถาม
      -  มีความคิดสร้างสรรค์และช่างจินตนาการ
      -  เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเลียนแบบคนรอบข้าง

               การสอนภาษาแบบธรรมชาติ

          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ  คือ การสอนแบบบูรณาการ  สอนในสิ่งที่เด็กสนใจสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมีอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยสอดเเทรกทักษะด้านต่างๆให้เด็กไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ไม่เข้มงวดในการสอนไม่บังคับเด็กในสิ่งที่เด็กไม่อยากทำ  ยอมรับในภาษาที่เด็กสื่อสารออกมาและคอยชี้เเนะไปในทางที่ถูกต้อง

              หลักการของการสอนภาษาเเบบธรรมชาติ

           1. การจัดสภาพแวดล้อม
           2. การสื่อสารที่มีความหมาย
           3. การเป็นแบบอย่าง
           4. การตั้งความคาดหวัง
           5. การคาดคะเน
           6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
           7. การยอมรับนับถือ
           8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น

               บทบาทของครู

           - ครูควรคาดหวังกับเด็กแต่ละคนเเตกต่างกัน
           - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
           - ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก 
           - ครูต้องให้ความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์ต่างๆ

                นำไปใช้
              
            1. สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตเมื่อถึงวัยทำงาน
            2. สามารถนำไปปรับใช้กับบุคลิกภาพของตนเองให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้เเก่เด็ก
            3. เวลาเราพูดออกเสียง เราควรออกเสียง ร ล ให้ชัดเจนเพื่อเป็นแบบอย่างให้เเก่เด็ก
            4. สามารถนำความรู้ที่เรียนมานำไปจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะในด้านต่างๆให้เเก่เด็ก



                                              




          การเข้าเรียนครั้งที่ 5
     
                           บันทึกอนุทิน

      วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
      อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
      วันเดือนปี   12 กรกฎาคม 2556
      ครั้งที่ 5     เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
      เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
     
      ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

         วันนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราย้อนเวลากลับไปในวัยเด็กโดยการที่ให้พวกเราวาดรูปสิ่งของที่เรารักมากที่สุดในวัยเด็กพร้อมกับบอกเหตุผลประกอบว่าทำไมเราถึงเลือกสิ่งนั้น...และนี่คือสิ่งที่ดิฉันชอบในวัยเด็ก  




                                
                       
         มันเป็นหมีสีน้ำตาล เหตุผลที่ฉันลือกมันคงเป็นเพราะ มันคือสิ่งที่เเม่เย็บขึ้นให้ด้วยมือของเเม่เอง มันเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันระลึกถึงพระคุณของเเม่ ถึงวันนี้มันอาจเป็นเเค่ความทรงจำไปแล้วก็ตาม ปัจจุบันหมีตัวนี้ยังคงอยู่ฉันเก็บมันไว้ที่บ้าน ที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และมันคงอยู่ในความทรงจำของฉันตลอดไป
     
                            เนื้อหาที่เรียนกันในวันนี้ มีดังนี้
            วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น  เช่น การเล่นบทบาทสมมติ เป็นต้น และเรียนรู้โดยการปฏิสัมพันธ์กับครู

                  องค์ประกอบของภาษา

 1.   Phonology  คือ ระบบเสียงของภาษาที่มนุษย์ได้เปล่งออกมาเพื่อใช้สื่อความหมาย ซึ่งหน่วยเสียงจะประกอบเป็นคำ

 2. Semantic  คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์ ซึ่งคำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมายและความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
                                                                    ตัวอย่าง เช่น
                      ภาษาไทย                                                                            ภาษาลาว

                     ห้องคลอด                                                                            ห้องประสูติ     
                     ห้องไอซียู                                                                             ห้องมรสุม
                     ห้องผ่าตัด                                                                             ห้องปาด
                     ถุงยางอนามัย                                                                       ถุงปลิดชีวิต
  
  3.    Syntax       คือ  ระบบไวยากรณ์ การเรียงรูปประโยค
  4.    Praymatic  คือ  ระบบการนำไปใช้โดยใช้ภาษาถูกต้องตามสถาการณ์และกาลเทศะ
 



           แนวคิดของนักการศึกษา

  1.    แนวคิดของนักพฤติกรรมนิยม 
  •  Skinner  บอกว่า สิ่งเเวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและตอบสนองต่อสิ่งเร้า
  •  John B. Watson  กล่าวถึง ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก   การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็กเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถทีจะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรม

          นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์ การเรียนภาษามาจากการปรับพฤติกรรมกับสิ่งเเวดล้อม เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษาเด็กจะเรียนรู้การสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆรอบตัว

  2.     แนวคิดกลุ่มพัฒนาการสติปัญญา
  • Piaget   กล่าวว่า เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • Vygotsty   กล่าวว่า   สังคมรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก เป็นบทบาทของผู้ใหญ่ที่ต้องคอยช่วยชี้เเนะและขยายประสบการณืด้านภาษาของเด็ก   

   3.     แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
  • Amold  Gesell  จะเน้นความพร้อมของร่างกายในการใช้ภาษา โดยเชื่อว่าความพร้อมทางวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน             

   4.   แนวคิดที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งเเต่เกิด
  • Noam  Chomsky   กล่าวว่า ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์  การเรียนภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ  มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ตั้งภาษาเเต่เกิด




                                           ......................................................................................................................................




       การเข้าเรียนครั้งที่ 4 
 
                     บันทึกอนุทิน ครั้งที่4
          วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   เเจ่มถิน
          วันเดือนปี  5 กรกฎาคม 2556
          ครั้งที่ 4    เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
          เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
         
          ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
           
            วันนี้ present งานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันได้ในหัวข้อเรื่อง องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา ซึ่งเนื้อหาที่กลุ่มของดิฉันได้ไปค้นคว้ามา สรุปได้ดังนี้

          ภาษา มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

  1.   เสียง  ประกอบด้วยเสียงสระ  เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤษ เขมร อังกฤษ
  2.  พยางค์และคำ  พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ มีความหมายหรือไม่มีก็ได้  ส่วนคำจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
  3. ประโยค เป็นการนำเอาคำมาเรียงกันตามโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตามระบบของหลักไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
  4. ความหมาย โดยความหมายของคำแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
          4.1  ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง  เป็นความหมายของคำนั้นๆเป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน
         4.2  ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา  เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายนัยตรง





วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



          การเข้าเรียนครั้งที่ 3
                                                  

                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

                        วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
                        วันเดือนปี  28 มิถุนายน 2556
                        ครั้งที่ 3   เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
      
                *** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นวันรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัย***                                                           
                                    


บรรยากาศวันรับน้อง




............................................................................................................................








บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วันที่ 21 เดือน มิถุนายน 2556


เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้



        วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับความหมายของภาษา ซึ่งสรุปตามความเข้าใจของฉัน คือ

ภาษา คือ การสื่อความหมายเป็นเครื่องมือในการแสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ในการแสดงความคิดเห็น
ซึ่งการสื่อสารทางภาษาไม่ใช่มีเเต่เพียงการพูดหรือการเขียนแต่อาจจะสื่อสารเป็นภาพก็ได้
    
 ความสำคัญของภาษา มีดังนี้

-  ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

-  ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน
-  ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
-  ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

 ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ของเพียร์เจต์ บอกไว้ว่าการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็ก โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ 2 กระบวนการ คือ

1. การดูุดซึม เป็นกระบวนการที่เด็กได้รับรู้เเละดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งเเวดล้อมด้วยประสบการณ์เดิมของตัวเอง
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ  เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปพร้อมกันกับการดูดซึม โดยการปรับความรู้สึกเดิมให้เข้ากับสิ่งเเวดล้อมใหม่หรือประสบการณ์ใหม่ที่เด็กได้รับ

เพียร์เจต์ได้แบ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กับภาษา ดังนี้

1. ขั้นพัฒนาด้านประสาทสัมผัส

2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล
3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม

พัฒนาการภาษาของเด็ก

    เด็กจะค่อยๆเรียนรู้สร้างความเข้าใจเป็นลำดับ ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับการใช้ภาษาต่างๆของเด็กให้คิดเสียว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก









วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

                    บันทึกอนุทิน ครั้งที่1

                    


           ในครั้งที่1นี้ อาจารย์ได้พบปะเเละพูดคุยกับนักศึกษาเป็นครั้งเเรก  อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มในหัวข้อเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยให้ทำเป็นmind mapsตามความเข้าใจของนักศึกษาเองและได้อธิบายวิธีการทำblogให้ฟังก่อนหมดชั่วโมงเรียนอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปสร้างblogของตนเองเพื่อนำมา link กับเมลล์บล๊อกของอาจารย์ในชั่วโมงเรียนต่อไป


mind maps การจัดประสบการณ์ทางภาษา