วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



            การเข้าเรียนครั้งที่ 6

                 บันทึกอนุทิน
           วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
           อาจารย์ผู้สอน  อาจรย์ตฤณ   แจ่มถิน
           วันเดือนปี   19 กรกฎาคม 2556
           ครั้งที่ 6        เวลาเรียน  08.30-12-20 น.
           เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

           ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

           เเนงทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

           การจัดประสบการณ์ทางภาษาเน้นทักษะภาษา

  •  ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
  • การประสมคำ
  • ความหมายของคำ
  • นำคำมาประกอบเป็นประโยค
  • การแจกลูกสะกดคำ  การเขียน
                  การแจกลูก

         กู   งู   ดู   หู   รู   ปู   ถู   ปู    คู   ทู   มู   ชู   
         รูปู   ถูหู   ดูงู   ถูขา   ดูกา   มาดู   ปูนา   ปลาทู
  • ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
  • ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                 Kenneth  Goodman
     
      -  เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
      -  มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
      -  แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

                ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
 
      -  สนใจอยากรู้ อยากเห็นสิ่งรอบตัว
      -  ช่างสงสัย ช่างซักถาม
      -  มีความคิดสร้างสรรค์และช่างจินตนาการ
      -  เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเลียนแบบคนรอบข้าง

               การสอนภาษาแบบธรรมชาติ

          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ  คือ การสอนแบบบูรณาการ  สอนในสิ่งที่เด็กสนใจสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมีอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยสอดเเทรกทักษะด้านต่างๆให้เด็กไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ไม่เข้มงวดในการสอนไม่บังคับเด็กในสิ่งที่เด็กไม่อยากทำ  ยอมรับในภาษาที่เด็กสื่อสารออกมาและคอยชี้เเนะไปในทางที่ถูกต้อง

              หลักการของการสอนภาษาเเบบธรรมชาติ

           1. การจัดสภาพแวดล้อม
           2. การสื่อสารที่มีความหมาย
           3. การเป็นแบบอย่าง
           4. การตั้งความคาดหวัง
           5. การคาดคะเน
           6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
           7. การยอมรับนับถือ
           8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น

               บทบาทของครู

           - ครูควรคาดหวังกับเด็กแต่ละคนเเตกต่างกัน
           - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
           - ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก 
           - ครูต้องให้ความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์ต่างๆ

                นำไปใช้
              
            1. สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตเมื่อถึงวัยทำงาน
            2. สามารถนำไปปรับใช้กับบุคลิกภาพของตนเองให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้เเก่เด็ก
            3. เวลาเราพูดออกเสียง เราควรออกเสียง ร ล ให้ชัดเจนเพื่อเป็นแบบอย่างให้เเก่เด็ก
            4. สามารถนำความรู้ที่เรียนมานำไปจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะในด้านต่างๆให้เเก่เด็ก



                                              


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น