วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



            การเข้าเรียนครั้งที่ 6

                 บันทึกอนุทิน
           วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
           อาจารย์ผู้สอน  อาจรย์ตฤณ   แจ่มถิน
           วันเดือนปี   19 กรกฎาคม 2556
           ครั้งที่ 6        เวลาเรียน  08.30-12-20 น.
           เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

           ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

           เเนงทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

           การจัดประสบการณ์ทางภาษาเน้นทักษะภาษา

  •  ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
  • การประสมคำ
  • ความหมายของคำ
  • นำคำมาประกอบเป็นประโยค
  • การแจกลูกสะกดคำ  การเขียน
                  การแจกลูก

         กู   งู   ดู   หู   รู   ปู   ถู   ปู    คู   ทู   มู   ชู   
         รูปู   ถูหู   ดูงู   ถูขา   ดูกา   มาดู   ปูนา   ปลาทู
  • ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
  • ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                 Kenneth  Goodman
     
      -  เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
      -  มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
      -  แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

                ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
 
      -  สนใจอยากรู้ อยากเห็นสิ่งรอบตัว
      -  ช่างสงสัย ช่างซักถาม
      -  มีความคิดสร้างสรรค์และช่างจินตนาการ
      -  เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเลียนแบบคนรอบข้าง

               การสอนภาษาแบบธรรมชาติ

          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ  คือ การสอนแบบบูรณาการ  สอนในสิ่งที่เด็กสนใจสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมีอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยสอดเเทรกทักษะด้านต่างๆให้เด็กไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ไม่เข้มงวดในการสอนไม่บังคับเด็กในสิ่งที่เด็กไม่อยากทำ  ยอมรับในภาษาที่เด็กสื่อสารออกมาและคอยชี้เเนะไปในทางที่ถูกต้อง

              หลักการของการสอนภาษาเเบบธรรมชาติ

           1. การจัดสภาพแวดล้อม
           2. การสื่อสารที่มีความหมาย
           3. การเป็นแบบอย่าง
           4. การตั้งความคาดหวัง
           5. การคาดคะเน
           6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
           7. การยอมรับนับถือ
           8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น

               บทบาทของครู

           - ครูควรคาดหวังกับเด็กแต่ละคนเเตกต่างกัน
           - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
           - ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก 
           - ครูต้องให้ความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์ต่างๆ

                นำไปใช้
              
            1. สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตเมื่อถึงวัยทำงาน
            2. สามารถนำไปปรับใช้กับบุคลิกภาพของตนเองให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้เเก่เด็ก
            3. เวลาเราพูดออกเสียง เราควรออกเสียง ร ล ให้ชัดเจนเพื่อเป็นแบบอย่างให้เเก่เด็ก
            4. สามารถนำความรู้ที่เรียนมานำไปจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะในด้านต่างๆให้เเก่เด็ก



                                              




          การเข้าเรียนครั้งที่ 5
     
                           บันทึกอนุทิน

      วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
      อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
      วันเดือนปี   12 กรกฎาคม 2556
      ครั้งที่ 5     เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
      เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
     
      ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

         วันนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราย้อนเวลากลับไปในวัยเด็กโดยการที่ให้พวกเราวาดรูปสิ่งของที่เรารักมากที่สุดในวัยเด็กพร้อมกับบอกเหตุผลประกอบว่าทำไมเราถึงเลือกสิ่งนั้น...และนี่คือสิ่งที่ดิฉันชอบในวัยเด็ก  




                                
                       
         มันเป็นหมีสีน้ำตาล เหตุผลที่ฉันลือกมันคงเป็นเพราะ มันคือสิ่งที่เเม่เย็บขึ้นให้ด้วยมือของเเม่เอง มันเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันระลึกถึงพระคุณของเเม่ ถึงวันนี้มันอาจเป็นเเค่ความทรงจำไปแล้วก็ตาม ปัจจุบันหมีตัวนี้ยังคงอยู่ฉันเก็บมันไว้ที่บ้าน ที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และมันคงอยู่ในความทรงจำของฉันตลอดไป
     
                            เนื้อหาที่เรียนกันในวันนี้ มีดังนี้
            วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น  เช่น การเล่นบทบาทสมมติ เป็นต้น และเรียนรู้โดยการปฏิสัมพันธ์กับครู

                  องค์ประกอบของภาษา

 1.   Phonology  คือ ระบบเสียงของภาษาที่มนุษย์ได้เปล่งออกมาเพื่อใช้สื่อความหมาย ซึ่งหน่วยเสียงจะประกอบเป็นคำ

 2. Semantic  คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์ ซึ่งคำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมายและความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
                                                                    ตัวอย่าง เช่น
                      ภาษาไทย                                                                            ภาษาลาว

                     ห้องคลอด                                                                            ห้องประสูติ     
                     ห้องไอซียู                                                                             ห้องมรสุม
                     ห้องผ่าตัด                                                                             ห้องปาด
                     ถุงยางอนามัย                                                                       ถุงปลิดชีวิต
  
  3.    Syntax       คือ  ระบบไวยากรณ์ การเรียงรูปประโยค
  4.    Praymatic  คือ  ระบบการนำไปใช้โดยใช้ภาษาถูกต้องตามสถาการณ์และกาลเทศะ
 



           แนวคิดของนักการศึกษา

  1.    แนวคิดของนักพฤติกรรมนิยม 
  •  Skinner  บอกว่า สิ่งเเวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและตอบสนองต่อสิ่งเร้า
  •  John B. Watson  กล่าวถึง ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก   การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็กเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถทีจะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรม

          นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์ การเรียนภาษามาจากการปรับพฤติกรรมกับสิ่งเเวดล้อม เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษาเด็กจะเรียนรู้การสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆรอบตัว

  2.     แนวคิดกลุ่มพัฒนาการสติปัญญา
  • Piaget   กล่าวว่า เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • Vygotsty   กล่าวว่า   สังคมรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก เป็นบทบาทของผู้ใหญ่ที่ต้องคอยช่วยชี้เเนะและขยายประสบการณืด้านภาษาของเด็ก   

   3.     แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
  • Amold  Gesell  จะเน้นความพร้อมของร่างกายในการใช้ภาษา โดยเชื่อว่าความพร้อมทางวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน             

   4.   แนวคิดที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งเเต่เกิด
  • Noam  Chomsky   กล่าวว่า ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์  การเรียนภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ  มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ตั้งภาษาเเต่เกิด




                                           ......................................................................................................................................




       การเข้าเรียนครั้งที่ 4 
 
                     บันทึกอนุทิน ครั้งที่4
          วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   เเจ่มถิน
          วันเดือนปี  5 กรกฎาคม 2556
          ครั้งที่ 4    เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
          เวลาเข้าสอน  08.30 น.   เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
         
          ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
           
            วันนี้ present งานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันได้ในหัวข้อเรื่อง องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา ซึ่งเนื้อหาที่กลุ่มของดิฉันได้ไปค้นคว้ามา สรุปได้ดังนี้

          ภาษา มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

  1.   เสียง  ประกอบด้วยเสียงสระ  เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤษ เขมร อังกฤษ
  2.  พยางค์และคำ  พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ มีความหมายหรือไม่มีก็ได้  ส่วนคำจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
  3. ประโยค เป็นการนำเอาคำมาเรียงกันตามโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตามระบบของหลักไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
  4. ความหมาย โดยความหมายของคำแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
          4.1  ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง  เป็นความหมายของคำนั้นๆเป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน
         4.2  ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา  เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายนัยตรง





วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



          การเข้าเรียนครั้งที่ 3
                                                  

                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

                        วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
                        วันเดือนปี  28 มิถุนายน 2556
                        ครั้งที่ 3   เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
      
                *** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นวันรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัย***                                                           
                                    


บรรยากาศวันรับน้อง




............................................................................................................................








บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วันที่ 21 เดือน มิถุนายน 2556


เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้



        วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับความหมายของภาษา ซึ่งสรุปตามความเข้าใจของฉัน คือ

ภาษา คือ การสื่อความหมายเป็นเครื่องมือในการแสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ในการแสดงความคิดเห็น
ซึ่งการสื่อสารทางภาษาไม่ใช่มีเเต่เพียงการพูดหรือการเขียนแต่อาจจะสื่อสารเป็นภาพก็ได้
    
 ความสำคัญของภาษา มีดังนี้

-  ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

-  ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน
-  ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
-  ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

 ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ของเพียร์เจต์ บอกไว้ว่าการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็ก โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ 2 กระบวนการ คือ

1. การดูุดซึม เป็นกระบวนการที่เด็กได้รับรู้เเละดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งเเวดล้อมด้วยประสบการณ์เดิมของตัวเอง
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ  เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปพร้อมกันกับการดูดซึม โดยการปรับความรู้สึกเดิมให้เข้ากับสิ่งเเวดล้อมใหม่หรือประสบการณ์ใหม่ที่เด็กได้รับ

เพียร์เจต์ได้แบ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญามีความสัมพันธ์กับภาษา ดังนี้

1. ขั้นพัฒนาด้านประสาทสัมผัส

2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล
3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม

พัฒนาการภาษาของเด็ก

    เด็กจะค่อยๆเรียนรู้สร้างความเข้าใจเป็นลำดับ ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับการใช้ภาษาต่างๆของเด็กให้คิดเสียว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก









วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

                    บันทึกอนุทิน ครั้งที่1

                    


           ในครั้งที่1นี้ อาจารย์ได้พบปะเเละพูดคุยกับนักศึกษาเป็นครั้งเเรก  อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มในหัวข้อเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยให้ทำเป็นmind mapsตามความเข้าใจของนักศึกษาเองและได้อธิบายวิธีการทำblogให้ฟังก่อนหมดชั่วโมงเรียนอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปสร้างblogของตนเองเพื่อนำมา link กับเมลล์บล๊อกของอาจารย์ในชั่วโมงเรียนต่อไป


mind maps การจัดประสบการณ์ทางภาษา