วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



          การเข้าเรียนครั้งที่ 5
     
                           บันทึกอนุทิน

      วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
      อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
      วันเดือนปี   12 กรกฎาคม 2556
      ครั้งที่ 5     เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
      เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.
     
      ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

         วันนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราย้อนเวลากลับไปในวัยเด็กโดยการที่ให้พวกเราวาดรูปสิ่งของที่เรารักมากที่สุดในวัยเด็กพร้อมกับบอกเหตุผลประกอบว่าทำไมเราถึงเลือกสิ่งนั้น...และนี่คือสิ่งที่ดิฉันชอบในวัยเด็ก  




                                
                       
         มันเป็นหมีสีน้ำตาล เหตุผลที่ฉันลือกมันคงเป็นเพราะ มันคือสิ่งที่เเม่เย็บขึ้นให้ด้วยมือของเเม่เอง มันเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันระลึกถึงพระคุณของเเม่ ถึงวันนี้มันอาจเป็นเเค่ความทรงจำไปแล้วก็ตาม ปัจจุบันหมีตัวนี้ยังคงอยู่ฉันเก็บมันไว้ที่บ้าน ที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และมันคงอยู่ในความทรงจำของฉันตลอดไป
     
                            เนื้อหาที่เรียนกันในวันนี้ มีดังนี้
            วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น  เช่น การเล่นบทบาทสมมติ เป็นต้น และเรียนรู้โดยการปฏิสัมพันธ์กับครู

                  องค์ประกอบของภาษา

 1.   Phonology  คือ ระบบเสียงของภาษาที่มนุษย์ได้เปล่งออกมาเพื่อใช้สื่อความหมาย ซึ่งหน่วยเสียงจะประกอบเป็นคำ

 2. Semantic  คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์ ซึ่งคำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมายและความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
                                                                    ตัวอย่าง เช่น
                      ภาษาไทย                                                                            ภาษาลาว

                     ห้องคลอด                                                                            ห้องประสูติ     
                     ห้องไอซียู                                                                             ห้องมรสุม
                     ห้องผ่าตัด                                                                             ห้องปาด
                     ถุงยางอนามัย                                                                       ถุงปลิดชีวิต
  
  3.    Syntax       คือ  ระบบไวยากรณ์ การเรียงรูปประโยค
  4.    Praymatic  คือ  ระบบการนำไปใช้โดยใช้ภาษาถูกต้องตามสถาการณ์และกาลเทศะ
 



           แนวคิดของนักการศึกษา

  1.    แนวคิดของนักพฤติกรรมนิยม 
  •  Skinner  บอกว่า สิ่งเเวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและตอบสนองต่อสิ่งเร้า
  •  John B. Watson  กล่าวถึง ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก   การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็กเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถทีจะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรม

          นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์ การเรียนภาษามาจากการปรับพฤติกรรมกับสิ่งเเวดล้อม เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษาเด็กจะเรียนรู้การสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆรอบตัว

  2.     แนวคิดกลุ่มพัฒนาการสติปัญญา
  • Piaget   กล่าวว่า เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • Vygotsty   กล่าวว่า   สังคมรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก เป็นบทบาทของผู้ใหญ่ที่ต้องคอยช่วยชี้เเนะและขยายประสบการณืด้านภาษาของเด็ก   

   3.     แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
  • Amold  Gesell  จะเน้นความพร้อมของร่างกายในการใช้ภาษา โดยเชื่อว่าความพร้อมทางวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน             

   4.   แนวคิดที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งเเต่เกิด
  • Noam  Chomsky   กล่าวว่า ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์  การเรียนภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ  มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ตั้งภาษาเเต่เกิด




                                           ......................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น